วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคกลาง


ภูมิปัญญาท้องถิ่น


ความหมายของภูมิปัญญา

    ภูมิปัญญา หรือ Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความเชื่อ ที่นำมาไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาของมนุษย์ หรือ ภูมิปัญญา คือ พื้นความรู้ของปวงชนในสังคมนั้น ๆ และปวงชนในสังคมยอมรับรู้ เชื่อถือ เข้าใจ ร่วมกัน เรียกว่า ภูมิปัญญา
ภาพภูมิปัญญา
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถและทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนา และถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญญาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย ภูมิปัญญาไทยนี้มีลักษณะเป็นองค์รวม มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นในวิถีชีวิตไทย ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นอาจเป็นที่มาขององค์ความรู้ที่งอกงามขึ้นใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจัดการและการปรับตัวในการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทย ลักษณะองค์รวมของภูมิปัญญามีความเด่นชัดในหลายด้านเช่น ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม และหัตถกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี และด้านโภชนาการ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณะและภูมิปัญญา

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคกลาง.


เครืองเรือนจักสาน
     สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมเกษตรกรรม ที่ผู้คนสามารถผลิตปัจจัยในการดำรงชีวิตได้เองเป็นส่วนใหญ่ 
ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกินหรือเครื่องไม้เครื่องมือ ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพหรือ คติความเชื่อในการดำรงชีวิตประจำวันก็ตาม   งานจักสานหรือเครื่องจักสานเป็นงานหัตถกรรมและศิลปแห่งภูมิปัญญาของชาวบ้าน ที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิถีชีวิตของชาวชนบทในสังคม เกษตรกรรม  เพราะเครื่องจักสานเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำได้ไม่ยาก  และมักใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาทำเป็นเครื่องจักสานใช้เป็นภาชนะ ใช้ในครัวเรือน  ทำเป็นเครื่องมือประกอบอาชีพ  และทำเป็นเครื่องเล่นเครื่องแขวนเครื่องประดับในบ้านเรือนได้อีก ด้วย                
งานจักสานเป็นงานหัตถกรรมที่เกิดจากภูมิปัญญาที่ชาวบ้านทำขึ้นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมาแต่โบราณกาล 
แม้ในปัจจุบันนี้  งานจักสานหรือเครื่องจักสานก็ยังคงมีการทำกันอยู่โดยทั่วไปในทุกภูมิภาคของ ประเทศ  หรืออาจจะพูดได้ว่าเครื่องจักสานในเมืองไทยนั้นมีทำมีใช้กันในทุกแห่งหนตำบล ก็เห็นจะได้เช่นกัน นอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยแล้ว  งานจักสานยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมภูมิปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ของชาวบ้านได้ เป็นอย่างดี      
จากหลักฐานทางโบราณคดีในประเทศไทย  ทำให้เชื่อได้ว่ามนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เคยอาศัยอยู่บริเวณประเทศไทย
สามารถทำเครื่องจักสานมาตั้งแต่ยุคหินกลางเมื่อหลายหมื่นปีมาแล้ว  แต่หลักฐานที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงว่า 
มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์เคยอาศัยอยู่ในประเทศไทยที่บริเวณบ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี 
เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้วได้แก่  ภาชนะดินเผาชิ้นหนึ่ง  รูปร่างคล้ายชามหรืออ่างเล็กๆผิวด้านนอกมีรอยของลายจักสานโดยรอบ 
แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ในอดีตรู้จักการทำภาชนะจักสาน แน่นอน แต่ที่ไม่สามารถหาหลักฐานของเครื่องจักสานโดยตรงได้นั้น  เพราะงานจักสานส่วนใหญ่ทำมาจากวัตถุดิบที่เป็นไม้ที่มีอายุขัยเฉลี่ยน้อยผุ ผังย่อยสลายได้ง่ายจึงยากที่จะมีอายุยืนยาวอยู่ได้นานๆ
หลายพันหลายหมื่นปีเช่นภาชนะที่ทำจากดิน  หินหรือโลหะอื่นๆ      
สำหรับงานจักสานนั้นเป็นหัตถกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยมาแต่โบราณ 
โดยเฉพาะเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ ที่มีวิถีเกี่ยวข้องกับชีวิตคนไทยนับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายเลยที่เดียว 
โดยเริ่มตั้งแต่เกิด  คนไทยในชนบทสมัยโบราณจะต้องทำพิธี “ตกฟาก” ให้กับเด็กที่เกิดใหม่ทุกคน คือ 
เมื่อเด็กออกจากครรภ์มารดาจะตกใส่พื้นบ้านที่เรียก ว่า “ฟาก”  ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่สับให้แตกแล้วแผ่เรียงกันออกเป็นพื้นเรือนเครื่องผูกหรือ เรือนไม้ไผ่  ดังนั้นเมื้อทารกแรกเกิดมาแล้วตกลงบนฟากหรือพื้นไม้ไผ่คนโบราณจึงเรียกเวลา ที่เด็กเกิดว่า “ตกฟาก” นั่นเอง  แม้ในปัจจุบันพื้นบ้านส่วนใหญ่ในเมืองหรือแม้แต่ในชนบทที่เจริญแล้วจะไม่มี พื้นบ้านที่ทำจากไม้ไผ่หรือฟากแล้ว 
ก็ยังคงเรียกเวลาที่เด็กเกิดกันว่า “ตกฟาก” อยู่เช่นเคย      หลังจากคลอดแล้ว  “หมอตำแย” จะทำพิธี “ร่อนกระด้ง” 
คือหลังจากอาบน้ำทำความสะอาดให้เด็กแรกเกิดที่ผ่านการ “ตัดสายสะดือ”ด้วยการใช้ “ริ้วไม้ไผ่”
ที่ใช้แทนมีดที่เป็นโลหะเพราะอาจทำให้เด็กเกิด บาดทะยักจากการใช้มีดโลหะได้  ภูมิปัญญาชาวบ้านในสมัยโบราณจึงนิยมใช้ “ริ้วไม้ไผ่”ที่มีความคมเช่นเดียวกับมีดโลหะมาตัดสายสะดือให้เด็กแรกเกิดแทน นั่นเอง 
หมอตำแยจะอุ้มเด็กนอนลงบนหลังกระด้งที่มีลักษณะนูนและนุ่มยืดหยุ่นได้ดี 
จากนั้นหมอตำแยจะยกกระด้งขึ้นพอเป็นพิธีแล้ววางกระแทกลงเบาๆให้เด็กตกใจแล้วร้องไห้ 
ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนสมัยโบราณที่ทำเพื่อให้เด็ก เกิดความ คุ้นเคยกับการอุ้มของพ่อแม่เด็กนั่นเอง   นอกจากการวางเด็กลงบนกระด้งแล้วคนโบราณยังนำเอาแหที่ใช้ในการหาปลามาโยงคลุม กระด้งที่เด็กนอนอยู่อีกด้วย 
แต่โดยภูมิปัญญาดังกล่าวแล้ว คนในสมัยโบราณต้องการให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้สายตามองดูสิ่งที่สามารถมอง เห็นได้ใกล้ๆตัวมากกว่า  โดยมีความเชื่อว่าร่างแหจะป้องกันภูตผีปีศาษไม่ให้เข้ามาทำร้ายเด็กเกิดใหม่ ได้
                                                        
                                                                           THE END.

กฎอุปสงค์และอุปทาน


อุปสงค์และอุปทาน


นทางเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์และอุปทาน (อังกฤษDemand and Supply) เป็นแบบจำลองพื้นฐานที่อธิบายความสัมพันธ์ของผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าในตลาดที่มีการแข่งขัน โดยถือว่าอุปสงค์และอุปทาน เป็นตัวแปรที่กำหนดปริมาณและราคาของสินค้าแต่ละชนิดในตลาด
โดยทั่วไป อุปสงค์ (อังกฤษdemand) หมายถึง ความต้องการและความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการ] ในขณะที่อุปทาน (supply) หมายถึง สินค้าหรือบริการที่พร้อมจะขายในตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการซื้อ


กฎอุปสงค์และอุปทาน


กฎอุปสงค์ (Law of Demand) และกฎอุปทาน (Law of Supply) เป็นหลักการที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณความต้องการซื้อหรือขาย โดยกฎอุปสงค์ระบุว่า ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า หรือเรียกว่าปริมาณอุปสงค์ (quantity demanded) มีความสัมพันธ์ในทางลบกับราคา เมื่อปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลนั้นคงที่ กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะต้องการซื้อสินค้านั้นน้อยลง กฎอุปทานระบุว่า ปริมาณสินค้าที่ต้องการขาย หรือปริมาณอุปทาน (quantity supplied) มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับราคา เมื่อปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลนั้นคงที่ กล่าวคือเมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ผู้ขายมีแนวโน้มที่จะต้องการขายสินค้ามากขึ้น
กฎอุปสงค์และอุปทาน มักนำเสนอออกมาในรูปแบบของแผนภูมิเส้น โดยให้แกนตั้งเป็นราคา และแกนนอนเป็นปริมาณสินค้า เส้นอุปสงค์มักเขียนออกมาเป็นเส้นลาดลง และเส้นอุปทานเป็นเส้นชันขึ้น แม้ว่าโดยทั่วไปเส้นกราฟอุปทานจะมีลักษณะชันขึ้น อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่เส้นกราฟอุปทานไม่เป็นไปตามลักษณะดังกล่าว ตัวอย่างของข้อยกเว้นนี้ได้แก่ เส้นกราฟอุปทานของแรงงานที่มีลักษณะของการโน้มกลับ กล่าวคือ เมื่ออัตราค่าแรงเพิ่มขึ้น คนงานคนหนึ่งก็พร้อมจะทำงานเป็นจำนวนชั่วโมงที่มากขึ้น แต่เมื่ออัตราค่าแรงขึ้นถึงจุดที่สูงมากๆ คนงานอาจพบกับเลือกทำงานน้อยลงและใช้เวลาว่างมากขึ้น การวกกลับของเส้นกราฟอุปทานยังปรากฏในตลาดอื่นด้วย เช่นในตลาดน้ำมัน ประเทศที่ส่งออกน้ำมันหลายประเทศลดการผลิตน้ำมันหลังจากราคาพุ่งสูงขึ้น

ความสัมพันธ์ของอุปสงค์และอุปทาน

โมเดลของอุปสงค์และอุปทาน อธิบายว่า ตลาดมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ดุลยภาพ (equilibrium) ซึ่งปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานจะเท่ากัน เรียกราคาที่ภาวะดุลยภาพว่า ราคาดุลยภาพ และปริมาณสินค้าที่ภาวะนี้ว่า ปริมาณดุลยภาพ หากปริมาณอุปสงค์มากกว่าปริมาณอุปทาน ซึ่งเกิดเมื่อราคาสินค้าต่ำกว่าราคาดุลยภาพของสินค้านั้น จะเกิดการขาดแคลนสินค้า หรือเรียกว่ามีอุปสงค์ส่วนเกิน ในขณะที่เมื่อปริมาณอุปทานมากกว่าปริมาณอุปสงค์ คือเมื่อราคาสินค้าสูงกว่าราคาดุลยภาพ จะเกิดสินค้าล้นตลาด หรืออุปทานส่วนเกิน โดยเมื่อเกิดกรณีเหล่านี้ ผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดจะตอบสนองจนกระทั่งตลาดเข้าสู่ดุลยภาพตอ่เนื่องกัน
ในการแสดงด้วยแผนภูมิ ดุลยภาพคือจุดที่เส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานตัดกัน
การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์และอุปทาน
กฎอุปสงค์และกฎอุปทาน อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณสินค้า เมื่อปัจจัยอื่นๆ คงที่ หากปัจจัยอื่นเกิดความเปลี่ยนแปลง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์หรืออุปทาน คือปริมาณอุปสงค์หรือปริมาณอุปทานจะมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงที่ทุกระดับราคา แสดงในแผนภูมิในลักษณะของการเปลี่ยนแปลงเส้นอุปสงค์หรืออุปทาน
ปัจจัยกำหนดอุปสงค์สำคัญที่มักกล่าวถึงได้แก่ รายได้ ราคาของสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง รสนิยม ความคาดหวัง จำนวนผู้ซื้อ ในขณะที่ปัจจัยที่กำหนดอุปทานมักกล่าวถึง ต้นทุนปัจจัยการผลิต เทคโนโลยี ความคาดหวัง และจำนวนผู้ขาย

ความยืดหยุ่น

สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในหลักการของอุปสงค์และอุปทานได้แก่ความยืดหยุ่น (elasticity) ในทฤษฏีของอุปสงค์และอุปทาน ความยืดหยุ่นคือการวัดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานต่อปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์หรืออุปทาน การศึกษาความยืดหยุ่นที่มักนำมาพิจารณาคือความยืดหยุ่นต่อราคา ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานที่มี่ต่อความเปลี่ยนแปลงของราคา